โครงสร้างและ กระบวนการผลิตน้ำดื่ม สำหรับผู้สนใจในธุรกิจน้ำดื่ม ต้องการทำขายหรือเพื่อจำหน่าย ลองศึกษาบทความนี้ดูก่อนนะครับ เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางในการดำเนินงาน ระบบผลิตน้ำดื่ม

โดย พัชรี ปั้นโต
- วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม ประกอบด้วย
1.1 น้ำ
น้ำที่นำมาผลิตจะมี 2 แบบ ได้แก่ น้ำบาดาล และน้ำประปา สามารถจำแนกได้ดังนี้
– น้ำบาดาล เป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากสารแขวนลอย สารอินทรีย์เคมี และเชื้อโรคต่างๆ ไม่มีกลิ่นที่น่ารังเกียจ แต่ขณะที่ไหลผ่านไปตามชั้นดิน/ชั้นหิน อาจจะละลาย เอาแร่ธาตุเข้ามา ปะปน รวมทั้งถูกปนเปื้อนด้วยน้ำที่มีคุณภาพด้อยกว่า ทำให้คุณภาพของน้ำบาดาเปลี่ยนไป ซึ่งก่อนนำมาใช้ต้องผ่านการขออนุญาติในทางกฎหมายน้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ.2520
– น้ำประปา ได้มาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลกอยู่แล้ว เมื่อนำมาผลิตเป็นน้ำขวดก็ยังผ่านกระบวนการผลิตน้ำดื่มที่สำนักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร กระบวนการผลิต ภาชนะบรรจุและการเก็บรักษา
1.2 บรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์แบ่งตามขนาดบรรจุ คือ ถัง ขวดพลาสติก PET ขวดแก้วและถ้วยแก้วพลาสติก แต่ส่วนใหญ่ผู้ผลิตนิยมใช้ขวดพลาสติก (พอลิเอทีลีนเทอร์ฟะทาเลต หรือ PET) บรรจุน้ำดื่มขวดเนื่องจากมีคุณสมบัติโดยทั่วไปจะแข็งใส ป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำได้และการซึมของก๊าซได้ดีมาก
– ถังบรรจุน้ำดื่ม : มีขนาด 12,18.9 และ 20 ลิตร ส่วนใหญ่ 18.9 ลิตร จะนิยมใช้ตามสำนักงาน และที่พักอาศัย
– ขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่ม : มีหลายขนาดให้เลือก คือ 350, 500, 600, 750, 1500 ซีซี .แต่ที่นิยมใช้กันมาตามท้องตลาดคือ ขนาด 500, 600 ซีซี.
– ขวดแก้วบรรจุน้ำดื่ม ขวดแก้วแม้ข้อดีสามารถใช้หมุนเวียนได้ มีความคง ความทนถาวรไม่เสื่อมสภาพตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ ทนความร้อนได้สูงมาก และป้องกันการซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำได้ แต่ก็มีข้อเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีน้ำหนักมากและแตกง่าย ส่วนใหญ่จะบรรจุน้ำดื่มไว้จำหน่ายตามร้านอาหาร
– ถ้วยบรรจุน้ำดื่ม : ถ้วยบรรจุน้ำดื่มขนาด 220 หรือ 229 ซีซี จะใช้ในสำนักงานเพื่อการรับรองแขก และใช้ในงานเลี้ยงต่างๆ
– ฉลากฟิล์มแบบหดตัว : สามารถพิมพ์ข้อความตามความต้องการลงบนวัสดุแผ่นฟิล์มใส พร้อมทั้งสวมฉลากลงบนบรรจุภัณฑ์ด้วยโดยใช้ความร้อนในการอบเพื่อให้เข้ากับขวด
– แคปซีล (Capseal) : เป็นฟิล์มหดที่สามารถสวมแล้วให้รัดที่ฝาขวดมีการพิมพ์โลโก้ของสินค้าและมีลูกศรให้ไว้ฉีกมีรอยปรุไข่ปลาฉีกออกง่าย แคปซีลเป็นอีกหนึ่งฟิล์มป้องกันคุณภาพมีใช้กับสินค้าที่ต้องการเสริม ควมมั่นใจต่อคุณภาพสินค้าก่อนส่งถึงมือผู้บริโภคปัจจุบัน
– ฝาแมกซี (Maxi) : เป็นฝาโลหะที่ได้รับการออกแบบให้สะดวกแก่ผู้ใช้ เป็นฝาที่มีวงแหวนและร่องลึกบนฝาทำให้ฉีกฝาขวดออกได้ง่าย ผลิตจากแผ่นเหล็กทินฟรีและอะลูมิเนียม เช่น ฝาปิดขวดแก้วของน้ำดื่ม
– ฝาพลาสติก : มีการผลิตขายตามท้องตลาดสามารถเลือกได้หลายสี ตามแต่สีที่นิยมใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ขาว ฟ้า ชมพู แดง ดำ ทองและน้ำเงิน ส่วนสีที่ต้องต้องสั่งทำสั่งพิเศษ คือ เงิน ม่วง เพราะไม่มีขายในตลาด
– ฟิล์มห่อหุ้มแบบหดตัว : คือบรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกที่ห่อหุ่มตัวสินค้าภายนอกเพื่อการขนส่งที่สะดวกสามารถปกป้องและคุ้มครองสินค้าจากความเสียหายได้ส่วนหนึ่ง ทำให้การขนส่งสินค้ามีความสะดวกมากขึ้นใช้กับบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
—2. แรงงานและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต
เมื่อจำแนกตามประเภทของลักษณะการผลิตมี 2 แบบคือ
แบบที่ 1 การผลิตแบบโรงงานอุตสาหกรรม
ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ใช้เครื่องจักรขนาดเกิน 5 แรงม้า หรือมีคนงาน 7 คนขึ้นไป และต้องผ่านการตรวจสอบเพื่อมีใบอนุญาต 2 ประเภท คือ 1) ใบอนุญาตผลิตอาหาร และ 2) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร น้ำดื่มประเภทนี้จะต้องแสดงฉลาก อย.และมีตัวอักษร ผด.แสดงอยู่ เช่น อย. ผด…./….
แบบที่ 2 การผลิตแบบอุตสาหกรรมครัวเรือน
จะใช้เครื่องจักรไม่เกิน 5 แรงม้า หรือคนงานไม่เกิน 7 คน ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะเป็นรายย่อย การผลิตมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก น้ำดื่มประเภทนี้จะบรรจุในขวดพลาสติกสีขาวขุ่น (PE) และจะต้องมีฉลากแสดง อย.อผด…./….. แสดงอยู่บนขวด
(ที่มา:จากสารวิจัยธุรกิจ ธนาคารกรุงไทย)
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต
คือระบบการกรองโดยวิธี Reverse Osmosis (R.O) ซึ่งผู้ขายส่วนใหญ่นำมาเพื่อใชัในการผลิตน้ำดื่มบริสุทธิ์ดังนี้
3.1 Feed water คือน้ำที่ส่งเข้าระบบ RO เพื่อผลิตน้ำที่ต้องการ
3.2 RO Product หรือ Permeate คือน้ำที่ผ่านการกรอง จาก RO
3.3 RO Reject, Concentrate, Retentate หรือ Brine คือน้ำที่เหลือจากการกรอง RO และมีความเข็มข้นของสารละลาย (TDS) สูง
3.4 Recovery Rate คืออัตราส่วนเปอร์เซ็นต์ของ RO Product กับ Feed Water เช่น ระบบ RO มี Recovery Rate 70 % หมายถึง ส่ง Feed Water เข้าไป 100 ส่วน จะได้ RO
Product 70 ส่วน อีก 30 ส่วนเป็น RO Reject
3.5 Percent Salt Rejectionคือ จำนวนเปอร์เซ็นต์ที่ RO membrane สามารถ สกัดเอาสารละลายไว้ได้ เช่น Feed water มี โซเดียม 100 ส่วน ใน RO Product มี โซเดียม เหลือ 5 ส่วน ดังนั้น Sodium rejection มีค่า 95 %
3.6 RO Element, RO Module หรือ RO Catridge คือ RO membrane ที่ประกอบสำเร็จแล้วพร้อมที่จะใช้งาน
3.7 Pressure Vessel คือ ท่อความดันสำหรับใส่ RO Element เพื่อทำการกรองน้ำ มีขนาดบรรจุได้ตั้งแต่ 1 ถึง 7 Elements วัสดุทำด้วย PVC, Fiber Glass หรือ Stainless Steel
3.8 Stage คือจำนวนครั้งที่น้ำไหลผ่านระบบ RO
3.11 Clean-In-Place (CIP) คือระบบสำหรับล้างทำความสะอาด RO Elements ซึ่งอาจจะติดตั้งอยู่กับที่ติดตั้งระบบ RO หรืออาจเป็นระบบล้อเลื่อนเข็นเข้ามาใช้เมื่อต้องการทำความสะอาด
- กระบวนการผลิต
เมื่อได้แหล่งน้ำดิบที่ต้องการแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดซึ่งโดยทั่วไปกรรมวิธีการผลิตนํ้าดื่มบรรจุขวดจะแบ่งเป็นขั้นตอนตามที่สำนักงานกรรมาการอาหารและยา (อย.) กําหนดไว้ อย่างไรก็ตามการผลิตนํ้าดื่มสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ การผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งการผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนนั้นจะมีวิธีที่ไม่ซับซ้อนโดยมีขั้นตอนดังนี้1. การกรองนํ้าประปาหรือนํ้าบาดาลด้วยเครื่องกรองทราย (Sand filter) - การกำจัดความกระด้างและเหล็กโดยเครื่องกรอง Base exchange unit ซึ่งบรรจุผงกรองเรซิน
3. การกำจัดกลิ่น สี และตะกอน โดยเครื่องกรองที่มี Activated carbon - การกำจัดแบคที่เรียโดยเครื่องกรองที่มีซึ่งมีใส้กรองเป็น Ceramic (Ceramic filter)
- การฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี ultra violet โดยการผ่านน้ำเข้าสู่ถังที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดแสง UV ตามระยะเวลที่กำหนดเพื่อฆ่าเชื้อโรค เมื่อสิ้นสุดกระบวนการจึงผ่านนํ้าเข้าสู่เครื่องบรรจุ เพื่อบรรจุใส่ภาชนะต่อไป
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
โครงสร้างต้นทุการผลิตน้ำดื่มแต่ละขวด จะประกอบไปด้วยต้นทุนหลักๆ ได้แก่ ต้นทุนค่าน้ำ ขวด ฉลาก แค๊ปซิล บล๊อกสี ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายในการผลิตอื่นๆ ตามสัดส่วนดังนี้
ปัจจัยที่มีผลต่อราคา
ปัจจัยหลักๆ ที่มีผลต่อราคาน้ำดื่ม ได้แก่- ราคาน้ำมัน
2. ราคาเม็ดพลาสติกที่นำมาทำขวดบรรจุ
3. ฉลากมีจำนวนสีของโลโก้มากและขนาด
4. การพิมพ์โลโก้บนแค๊ปซิล
5. การจัดส่งสินค้า (ทยอยหรือครั้งเดียว), จุดจัดส่ง และสถานที่ในการจัดส่ง